เห็ดเป็นยา “โรคไทรอยด์เป็นพิษ”

บทความโดย ดร.อานนท์ เอื้อตระกูล

September 5, 2015

เรื่องของโรคไทรอยด์เป็นพิษนั้น เป็นโรคที่สำคัญอีกชนิดหนึ่ง ที่คนทั่วโลกประสพปัญหากัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เกิดกับสตรีมากถึงร้อยละ 2 หมายความว่า สตรี 50 คน จะเป็นโรคไทรอยด์เป็นพิษ 1 คน ส่วนผู้ชายเป็นน้อยกว่า ไม่เกิน 0.2% เท่านั้น

สาเหตุของการเป็นโรคไทรอยด์เป็นพิษ อาจมีสาเหตุจากกรรมพันธุ์ หรือจากการทานอาหารประเภทที่มีสารเร่ง ผงชูรส และสารกันบูด ภาวะภูมิต้านทานบกพร่อง เครียด กรดไขมันในเลือดสูง มีผลต่อต่อมไทรอยด์ ที่อยู่ตรงลำคอ ใต้ลูกกระเดือกเล็กน้อย
ซึ่งต่อมไทรอยด์ ถือว่า เป็นต่อมไร้ท่อที่ใหญ่ที่สุดสำคัญมาก เพราะมันจะสร้างฮอร์โมนหลายชนิด เพื่อกระตุ้นให้ร่างกายทำงานตามปกติ โดยเฉพาะหัวใจและประสาท การเผาผลาญอาหารในร่างกาย การควบคุมอุณหภูมิ การใช้ออกซิเจน, การทำงานของระบบประสาท การสังเคราะห์โปรตีน และการเจริญเติบโต ดังนั้น หากต่อมไทยรอยด์เป็นพิษ จะก่อให้เกิดปัญหาสารพัดตามมา โดยการเป็นโรคไทรอยด์เป็นพิษนั้น สามารถแบ่งออกเป็นสองชนิด กล่าวคือ ไฮเปอร์ไทรอยด์(Herperthyroidism) เป็นอาการที่ต่อมไทรอยด์สร้างฮอร์โมนไทร็อกซินหรือที่เรียกว่า ที4 (T4) และ ฮอร์โมนไตรไอโอโดไทโรนีนหรือที่เรียกว่า ที3 (T3) ซึ่งฮอร์โมนที่ถูกปล่อยออกไปจะออกฤทธิ์ต่อเซลล์หรืออวัยวะเป้าหมาย โดยสร้างฮอร์โมนดังกล่าวมากไป
ส่วนไทรอยด์เป็นพิษอีกชนิดหนึ่ง เป็นลักษณะตรงกันข้ามที่เรียกว่า ไฮโปไทรอยด์(Hypothyroidism) ซึ่งต่อมไทรอยด์จะสร้างฮอร์โมนดังกล่าวน้อยไป

การรักษาโรคไทรอยด์เป็นพิษนั้น นิยมรักษากันอยู่ 3 วิธี คือ ให้กินยา การผ่าตัดเอาบางส่วนของต่อมไทรอยด์ออก และการฉายรังสีไอโอดินเข้าไป

ซึ่งทั้งสามวิธี แม้ว่าจะได้ผลให้เห็นค่อนข้างรวดเร็ว แต่เป็นการรักษาแบบชั่วคราว หรือประคับประคองเท่านั้น นอกจากนี้ การผ่าตัด จะมีผลต่อการส้รางฮอร์โมนที่สำคัญหลายชนิดอย่างถาวร ส่วนยาก็เช่นกัน สำหรับคนที่เป็นไฮเปอร์ไทรอยด์ ก็จะได้รับยายับยั้ง หรือชะลอการสร้างฮอร์โมน หรือคนที่เป็น ไฮโปไทรอยด์ ก็ได้รับยาเช่นกัน คือ ยากระตุ้นให้ต่อมไทรอยด์สร้างฮอร์โมนเพิ่ม ซึ่งต้องใช้ยาพวกนี้ไปตลอดติดต่อกันเป็นเวลานาน ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยได้รับผลข้างเคียงตามมา ที่ไม่พึงปรารถนา
ปัจจุบัน ได้มีการรักษาอีกวิธีหนึ่งที่ได้ผล และไม่มีผลข้างเคียง แต่ทำให้ร่างกายโดยรวมดีขึ้นไปพร้อมๆกัน ก็คือ โภชนาการและเอ็นไซม์บำบัดครับ ตอนนี้ ต่างประเทศเขาเลือกใช้วิธีนี้กันแพร่หลายยิ่งขึ้น
โดยเน้นไปที่การรักษาแบบองค์รวม เพราะสาเหตุหลักของการเกิดไทรอยด์เป็นพิษ อยู่ที่ความบกพร่องของระบบภูมิคุ้มกัน ทำให้การดูดเอาอาหารที่มีไอโอดินไปใช้ในขบวนการสร้างฮอร์โมนของต่อมไทรอยด์ไร้ประสิทธิภาพ ปัจจุบันพบว่า อาหารที่มีสารซีลิเนียมสูง เป็นอาหารที่เหมาะสมและช่วยป้องกันและรักษาอาการไทรอยด์เป็นพิษได้อย่างดีเยี่ยม  คือเห็ดหลายชนิด ที่มีสารซีลิเนียมสูงกว่าอาหารอื่นใด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เห็ดกระดุมบราซิล เห็ดกระถินพิมาน เห็ดหิ้งไซบีเรีย เห็ดนมเสือ เห็ดหลินจือ เป็นต้น ซึ่ง สารซีลีเนียมเป็นโลหะตัวหนึ่งในระบบเอนไซม์ที่สามารถทำหน้าที่เป็นตัวต่อต้านอนุมูลอิสระ  antioxidant

แต่การที่จะนำเห็ดมาทานให้มีประสิทธิภาพสูงนั้น เนื่องจากสารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย อยู่ในสภาพโครงสร้างที่สลับซับซ้อนและเป็นโมเลกุลใหญ่ ร่างกายไม่สามารถนำไปใช้ได้โดยตรง จำเป็นต้องอาศัยจุลินทรีย์โปรไบโอติกย่อยเสียก่อน
ในการหมักควรมีเชื้อยีสต์ตระกูล Pichia farinosa ซึ่งเป็นเชื้อยีสต์ ที่มีความสามารถในการสร้างเอ็นไซม์ทำลายพิษของธาตุทองแดง และปรอท อันเป็นสารที่ก่อให้เกิดโรคไทรอยด์เป็นพิษได้ง่าย

เพิ่มเติม “เห็ดนมเสือ” ซึ่งเป็นเห็ดชนิดหนึ่งที่มีสารซีลีเนียมสูง เป็นเห็ดในตระกูลเดียวกับเห็ดหลินจือ เพราะเป็นเห็ดที่ไม่มีครีบ แต่จะมีรูสร้างสปอร์ที่เรียกว่า pores เป็นเห็ดที่เกิดตามธรรมชาติในบ้านเรา แพทย์พื้นบ้าน นิยมใช้เป็นส่วนผสมของยานัตถ์หรือยาดม และยาแก้หวัดเจ็บคอ ขณะที่ต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ประเทศมาเลเซีย หลังจากที่อดีตนายกท่านมหาธีร์ ได้พูดในที่สาธารณเพื่อเป็นการกระตุ้นให้นักวิทยาศาสตร์ของมาเลย์สนใจในเรื่องสมุนไพรพื้นบ้าน โดยท่านกล่าวเมื่อปี 2545 ว่า อาการเจ็บคอของท่านหายเป็นปลิดทิ้งเพราะทานสมุนไพรจากเห็ดนมเสือ จากวันนั้นเป็นต้นมา นักวิทยาศาสตร์ของมาเลย์ก็ได้หันมาสนใจเรื่องเห็ดชนิดนี้ ขณะที่จีน และฮ่องกงได้ศึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์ของเห้ดชนิดนี้มานานพอสมควรแล้ว และก็พบว่า เป็นเห็ดที่มีสรรพคุณทางยาแก้หวัด แก้ไอ และที่สำคัญ ใช้รักษาโรคมะเร็งเต้านมอย่างได้ผล โดยสารเบต้ากลูแคนที่เป็นโพลีแซคคาไรด์โปรตีน ไปกระตุ้นให้สารเซลีเนียมเข้าไปปลดนาฬิกาชีวิตของเซลมะเร็งเต้านม ทำให้เซลมะเร็งฝ่อตายไปเอง ขณะนี้ ทางการมาเลย์ได้ยื่นของจดทะเบียนลิขสิทธิ์ในหลายผลิตภัณฑ์ที่ทำจากเห็ดนมเสือนี้ ขณะที่ประเทศไทย มีเห็ดนมเสือค่อนข้างชุกชุมตามป่าที่ยังสมบูรณ์อยู่ โดยมันจะมีหัวที่เรียกว่า sclerotium มีลักษณะเป็นก้อนของเส้นใย คล้ายๆกับเห็ดนางรมหัว Pleurotus tuber-regium โดยหัวของมันจะฝังอยู่ใต้ดินเป็นปีๆหรือหลายสิบปี ยิ่งนาน หัวก็ยิ่งโต เมื่อสภาพแวดล้อมเหมาะสม เช่น ฤดูฝน มันก็จะเกิดดอกคล้ายๆกับเห็ดลม เกิดขึ้นบนดิน แต่จะต่างจากเห็ดลมตรงที่มันไม่มีครีบ เมื่อแก่จะแข็งเหมือนไม้ เห็ดธรรมชาตินี้ ราคาซื้อขายกันที่ฮ่องกงหรือที่มาเลเซียสูงกว่าเห็ดหลินจือหลายเท่า ท่านที่เดินป่าและเจอเห็ดชนิดนี้ ควรนำมาเพาะเลี้ยง เพื่อรวบรวมสายพันธุ์และพัฒนาเป็นยาที่ได้มาจากเห็ดที่สำคัญอีกชนิดหนึ่ง