กว่าจะรู้ว่าเห็ดแต่ละชนิดกินได้หรือไม่ มีประโยชน์อย่างไร มีสารอะไรอยู่ข้างใน มีความเป็นยาเช่นไร ควรใช้สูตรอะไร ทุกอย่างล้วนแล้วแต่เป็นปัญหาที่จะต้องหาคำตอบ คำตอบๆบางคำตอบ อาจจะได้จากการทดลองซ้ำแล้วซ้ำอีก เช่น การที่จะรู้ว่า เห็ดอะไรกินได้ไม่ได้ในอดีต ก็เพราะ มีหน่วยกล้าตาย ลองเอาเห็ดแต่ละชนิดมาทดลองทานดู หากชนิดไหนเป็นพิษ ผู้ทดลองอาจจะได้รับสารพิษมากน้อย หรือได้รับผลแตกต่างกันไป หรือเห็ดบางชนิด ทานเข้าไปเพียงเล็กน้อยอาจจะเป็นอันตรายถึงชีวิต หรือพิการไปเลยก็มี 

พอมนุษย์เริ่มมีความเจริญทางวิชาการ นักวิชาการก็เข้ามามีบทบาทในการไขข้อข้องใจต่างๆ ที่ต้องใช้ทั้งองค์ความรู้ที่เรียนมา ประสบการณ์ ที่บางครั้งแลกมาด้วยชีวิต ศักดิ์ศรีและความปิติของผู้ทำการวิจัยนั้น ส่วนใหญ่ ก็ขอเพียงเพื่อให้ได้ผลที่ต้องการให้กระจ่าง ให้เป็นประโยชน์ต่อคนหมู่มาก บางส่วนบางราย ก็จะเอาผลของการศึกษา ค้นคว้าวิจัย ที่ต้องใช้ทั้งแรง ทั้งความรู้ และเงินทุน เมื่อได้ผลออกมา ก็อาจจะนำไปต่อยอดต่อเป็นธุรกิจที่ยั่งยืนต่อไป และก็มีนักวิชาการอีกจำนวนไม่น้อย ที่ทำไปเพราะอำนาจหน้าที่ที่จะต้องทำ โดยเฉพาะในมวลหมู่นักวิชาการที่ทำงานในภาครัฐหรือองค์กรทางสังคม นับเป็นเรื่องที่ยากยิ่ง หรือแทบจะกล่าวได้เลยว่า ยังไม่เคยเกิดขึ้นในประเทศไทย ที่ได้มีนักวิชาการจากแทบทุกสถาบันชั้นนำของประเทศ มารวมพลังแบบบูรณาการ ที่ขันอาสามาทำวิจัยเรื่องเห็ดเป็นยาร่วมกันทั้งทางภาครัฐและเอกชน อันได้แก่ สถาบันแสงซินโครตรอน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยสุรนารี โรงพยาบาลมะเร็งอุดรธานี สถาบันอานนท์ไบโอเทค บริษัทเฮริบเบนไซม์ บริษัทสมาร์ท กรุ๊ป จำกัด 

ผู้ที่อยู่เบื้องหลังในการติดต่อประสานงานที่ทำให้เกิดรูปร่างของความร่วมมือต่างๆ คือ ดร.บัวบาล กัวประเสริฐ แห่งสถาบันแสงซินโครตรอน ที่เห็นถึงความสำคัญว่า แม้ว่า การวิจัยเรื่องเห็ดของประเทศไทย ได้มีการปฏิบัติกันมาช้านานแล้ว แต่เป็นลักษณะต่างคนต่างทำ ในฐานะที่สถาบันแสงซินโครตรอน เป็นสถาบันที่ให้ความร่วมมือในงานวิจัยกับมากมายหลายองค์กร ดังนั้น จึงเห็นว่าการร่วมมือทำงานวิจัยเรื่องเห็ดเศรษฐกิจและเห้ดเป็นยาร่วมกัน โดยนำเอาจุดแข็ง จุดเด่น และประสบการณ์จากหลากหลายสถาบันที่อาจจะมีส่วนคล้ายหรือแตกต่างกันออกไป น่าจะเป็นเรื่องที่ดี ที่จะไม่ก่อให้เกิดความซับซ้อน สนับสนุนส่งเสริมให้หน่วยงานที่มีความชำนาญโดยเฉพาะ ได้ใช้ความรู้ ความสามารถมาร่วมกันพัฒนาวงการเห็ดเป็นยาของประเทศไทย โดยมีหน่วยงาน องค์กรของภาคเอกชนมาร่วมด้วย เพื่อนำเอาผลการทดลองนำไปใช้ต่อไป 

ผลของการติดต่อประสานงานร่วมมือกันนั้น อาจารย์สุเทพ ธีรศาสตร์ ซึ่งเคยเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านมาตรฐานอาหาร ของกระทรวงอุตสาหกรรมมาก่อน จึงได้เข้ามาช่วยติดต่อประสานงานเพื่อเติมเต็มหน่วยงานการวิจัยเห็ดเป็นยาจนเป็นรูปเป็นร่าง โดยได้รับความกรุณาเป็นอย่างสูงในการให้คำแนะนำปรึกษาจากท่านศาสตราจารย์ ดร.ภูษณ ปรีย์มาโนช แห่งมหาวิทยาลัยอิมพีเรียล กรุงลอนดอน อังกฤษ ดร.ดนัย ทิวาเวช นพ.อิสระ เจียวิริยบุญญา นพ.วิชัย ชัยจิตวณิชกุล พญ.ปนัดดา พรศิริรุ่ง ดร.อานนท์ เอื้อตระกูล อาจารย์กาญจนา เข่งคุ้ม อ.ชัชวาลย์ คุณค้ำชู

ดร.บัวบาล กัวประเสริฐ หัวหน้ากลุ่มงานวิจัยเห็ดเป็นยาและสมุนไพร สถาบันซินโครตรอน ซึ่งท่านเป็นผู้ประสานงานกับกลุ่มนักวิจัยจากสถาบันต่างๆที่เกี่ยวข้อง อย่างน่าชื่นชมและเป็นรูปธรรมที่สุดของวงค์การเห็ดเป็นยาและสมุนไพรไทย ในส่วนของงานวิจัยที่ทาง ดร.บัวบาลรับผิดชอบ ก็คือ ตรวจหาสารสำคัญ และโครงสร้างทางเคมี ด้วยเทคโนโลยี่ชั้นสูงด้วยแสงซินโครตรอน แล้วจะนำผลไปประกอบพิจารณาเสริมงานวิจัยในด้านอื่น เพื่อทำให้เกิดความสมบูรณ์เป็นมาตรฐานระดับสากล เพื่อรองรับที่ไทย จะสามารถจัดประชุมทางวิชาการระดับสากลต่อไป

รศ.ดร.เกียรติทวี ชูวงค์โกมล หัวหน้าทีมศึกษาวิจัยในด้านสารสกัด และการทดสอบสารสกัดในระดับเซลต่างๆ เช่น เซลมะเร็งแต่ละชนิด ซึ่งได้เริ่มดำเนินการแล้ว และได้รับผลเบื้องต้นที่ทำให้ทราบว่า มีสารสกัดจากเห็ดบางชนิดสามารถยับยั้งเซลมะเร็งบางชนิดได้ ในวันดังกล่าว น่าจะมีรายละเอียดว่า มีเห็ดชนิดใด สามารถยับยั้งเซลมะเร็งอะไรได้บ้างแล้ว

อ.กาญจนา เข่งคุ้ม นักวิชาการด้านสัตว์ทดลอง มหาวิทยาลัยมหิดล ผู้ซึ่งมีประสบการณ์ด้านการวิจัยสารสำคัญต่างๆกับสัตว์ทดลอง ที่เป็นมาตรฐานสากล ที่เป็นยอมรับกันทั่วโลก ท่านเป็นผู้มีประสบการณ์สูง และมีสัตว์ทดลองหลายสายพันธุ์ที่พัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้ในการทดลองอย่างเป็นระบบ

อ.สุเทพ ธีรศาสตร์ ที่เคยรับราชการเป็นนักวิทยาศาสตร์ด้านมาตรฐานอาหาร เคยเป็นทั้งวิทยากร ให้คำแนะนำปรึกษาด้านมาตรฐานอาหารตามโรงงาน หรือหน่วยงานราชการต่างๆ เคยเป็นผู้ประสานงานนักวิจัยตามสถาบันที่สำคัญต่างๆให้ร่วมมือกันทำงานวิจัยร่วมกันอย่างบูรณาการ ปัจจุบัน ได้ผันตัวเองไปทำธุรกิจข้ามชาติในหลายประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ได้รับความไว้วางใจจากนักธุรกิจหลายสาขาของประเทศญี่ปุ่นดำเนินการทำธุรกิจเมืองทองที่ประเทศซูดาน และทำธุรกิจเกี่ยวกับด้านผลิตภัณฑ์ไบโอเทค เอ็นไซม์ และเห็ดเป็นยาทั้งในไทยและต่างประเทศ จึงมีส่วนสำคัญมากในด้านของตัวแทนเอกชน ที่จะร่วมทำวิจัยกับหน่วยงานของรัฐได้เป็นอย่างดี

อัลบัมผู้ร่วมขับเคลื่อนวงการเห็ดเป็นยา

บทสรุป

งานเหล่านี้ใช้ทั้งเวลา เงินทุน ความรู้ ความสามารถและประสบการณ์ ผู้ร่วมวิจัยมีเป้าหมายหลักที่สำคัญคือ ขอให้ได้ผลวิจัยและคำตอบ ที่จะทำให้สังคมได้รับรู้ข้อมูลทางวิชาการที่แท้จริงตามมาตรฐานสากล เพื่อนำเอาไปใช้ในด้านธุรกิจต่อไป นักวิจัยทุกท่านยอมเหนื่อย ยอมสละเวลา ความรู้และประสบการณ์ของแต่ละท่านอย่างเต็มที่ งานเช่นนี้ มักจะถูกกล่าวเสมอว่า ผู้ปฏิบัติทำงานเปรียบประหนึ่งปิดทองหลังพระ จากเหตุผลดังได้กล่าวมาแล้ว เมื่อได้ผลออกมาเป็นที่ประจักษ์แก่สังคม และมีการนำไปเป็นประโยชน์แล้ว สิ่งที่ทีมงานจะพากภูมิใจเป็นอย่างยิ่ง ที่ควรจะมีการอ้างอิง หรือให้เกียรติแก่ผู้ร่วมวิจัยกันบ้าง

ใส่ความเห็น